บริษัท ROOKIE Racing (ทีมแข่ง ROOKIE Racing) และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน จำกัด  (โตโยต้า) ประกาศร่วมศึกการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรูปแบบ Endurance ต่อเนื่อง 25 ชั่วโมงครั้งแรกของประเทศไทย และทวีปเอเชีย ในรายการ IDEMITSU 1500 SUPER ENDURANCE 2022 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคมนี้

โดยจะเป็นผู้ขับคนแรกและช่วงท้ายของรายการ ที่สำคัญ ครั้งนี้ยังเป็นรายการแข่งขันครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่นของรถต้นแบบรุ่นพิเศษ 2 รุ่น นั่นคือ รถต้นแบบ ORC ROOKIE GR Corolla H2 concept ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน*1 และรถต้นแบบ ORC ROOKIE GR86 CNF Concept ที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งมีความเป็นกลางทางคาร์บอน*2 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์จากทีม Toyota Gazoo Racing Team Thailand ที่จะลงแข่งด้วยรถที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งมีความเป็นกลางทางคาร์บอนจำนวนหนึ่งคัน แสดงถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับ และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกีฬามอเตอร์สปอร์ต ผ่านจุดเริ่มต้นของการประกาศเข้าร่วมศึกการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบแบบ Endurance 25 ชั่วโมง ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย   

ทีมแข่ง ROOKIE Racing และโตโยต้าได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ Super Taikyu series*3 ที่จัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยในช่วงครึ่งหลังของรายการแข่งขันประจำฤดูกาลปี 2564 ได้ส่งรถแข่งโตโยต้า โคโรลล่า ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงเข้าร่วมการแข่งขัน และแสดงความมุ่งมั่น เพื่อขยายความร่วมมือไปยังกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจทั้งภายใน และภายนอกภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีจุดยืนเช่นเดียวกัน ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตลอดทั้งกระบวนการ นับตั้งแต่ขั้นตอนของ “การผลิต” “การขนส่ง” และ “การใช้” พลังงานไฮโดรเจน เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างแท้จริง สำหรับการแข่งขันประจำฤดูกาล พ.ศ. 2565 นอกจากรถแข่ง GR Corolla ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนแล้ว จะส่งรถแข่งรุ่น GR86 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยั่งยืนจากชีวมวลเข้าร่วมแข่งขันด้วย สะท้อนความท้าทายเพื่อนำเสนออีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่สะอาด และยั่งยืน ซึ่งมาจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน 

มร.อากิโอะโตโยดะกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชันประเทศญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งและเจ้าของทีม ROOKIE Racing เข้าร่วมการแข่งขันด้วยตนเองโดยใช้นามว่า “Morizo”

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทีมแข่ง ROOKIE Racing และโตโยต้า ได้สาธิตการทดลองวิ่งรถรุ่น GR Yaris H2 พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา ในการแข่งขันรอบที่ 9 ของรายการ World Rally Championship (WRC) ณ เมืองอีเปอร์ (Ypres) ประเทศเบลเยี่ยม และในรอบที่ 13 ของรายการ WRC ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น    เพื่อสาธิตศักยภาพของพลังงานไฮโดรเจน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความยากลำบากอย่างในสนามแข่งรถ ว่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกซึ่งนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ นอกจากนั้น นักแข่งอย่าง Morizo ยังได้ขับพิสูจน์ด้วยตนเองเพื่อเสริมความมั่นใจในด้านความปลอดภัยและสมรรถนะการขับขี่ของรถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนอีกด้วย

และนี่เป็นช่วงเวลาที่พร้อมแล้วของรถพลังงานไฮเดรเจนในการมาสาธิตให้เห็นถึงศักยภาพภายในภูมิภาคเอเชียสนามช้างอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิตที่เป็นสนามแข่งรถหลักมาตรฐานระดับโลกของประเทศไทย ซึ่งได้รับเกียรติจัดรายการแข่งขันระดับสากลหลายรายการด้วยกัน รวมถึงรายการแข่งขันมอเตอร์ไซด์ซึ่งได้รับเกียรติสูงสุดในประเทศไทยอย่างรายการ Thailand MotoGP โดยนับตั้งแต่การเปิดสนามแห่งนี้  เมื่อพ.ศ. 2557 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ประกาศเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลัก  ตลอดจนร่วมส่งเสริมการพัฒนาของวงการมอเตอร์สปอร์ตในประเทศไทย ด้วยการจัดรายการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบในสนามแห่งนี้ โดยในพ.ศ. 2562 ทีมแข่ง ROOKIE Racing ได้เข้าร่วมการแข่งขันที่สนามแห่งนี้เป็นครั้งแรก และสามารถคว้าแชมป์จากการแข่งขันรถยนต์แบบ Endurance ต่อเนื่อง 10 ชั่วโมงในรายการ “IDEMITSU 600 SUPER ENDURANCE 2019″ สำหรับปี 2565 นี้ ทีมแข่ง ROOKIE Racing และโตโยต้า ได้หวนคืนสู่สังเวียนศึกอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนาน 3 ปี โดยจะส่งรถเข้าร่วมแข่งขันภายใต้สภาวะที่แตกต่างจากในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเร่งขยายทางเลือกด้านเทคโนโลยี ที่จะช่วยนำไปสู่สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนทั่วโลก

รายละเอียดทีมแข่ง 

ชื่อทีมClassVehicleหมายเลขรถ
ORC ROOKIE Racingdivision3รถต้นแบบรุ่น GR86 ที่ใช้เชื้อเพลิงซึ่งเป็นกลางทางคาร์บอน (ORC ROOKIE
GR86 CNF Concept)
328

division2รถต้นแบบรุ่น GR Corolla ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน  (ORC ROOKIE
GR Corolla H2 Concept)
232

จุดยืนของโตโยต้าเพื่อมุ่งสู่สังคมแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอนในทวีปเอเชียผ่านทางเลือกหลากหลายในด้านเทคโนโลยี

โตโยต้ามุ่งบรรลุพันธกิจด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) ด้วยวิธีการที่ทำได้จริง และยั่งยืน เพื่อมุ่งสร้าง “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” รวมทั้ง โตโยต้าในทวีปเอเชียด้วยเช่นกัน 

โตโยต้ามุ่งพัฒนา และนำเสนอทางเลือกของเทคโนโลยีในยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท สู่ตลาดรถยนต์ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อขยายความพยายามในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน และนำเสนอทางเลือกเพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนให้กับลูกค้า โดยมีทางเลือกด้านเทคโนโลยีอันหลากหลาย นับตั้งแต่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแบบระบบไฮบริด เทคโนโลยีไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด  รถยนต์ขับเคลื่อนระบบแบตเตอรี่ไฟฟ้า และรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดนเจน ซึ่งทางเลือกเหล่านี้ช่วยตอบสนองความหลากหลาย ทั้งปัจจัยทางด้านภาวะเศรษฐกิจของลูกค้า ความพร้อมของแหล่งพลังงานที่มีอยู่ ความพร้อมด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน นโยบายด้านอุตสาหกรรม และความต้องการด้านรูปแบบการขับเคลื่อนของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ 

วิธีการดำเนินงานดังกล่าว จะช่วยให้การเข้าถึงเทคโนโลยีขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าเป็นไปอย่างเหมาะสม และรวดเร็ว ทั้งยังส่งเสริมเป้าหมายหลักสำคัญระดับชาติของแต่ละประเทศ ตลอดจนร่วมส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอน ช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของอากาศ ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และยังก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และสร้างความยั่งยืนด้านการจ้างงาน ควบคู่ไปกับการเสนอทางเลือกด้านการขับเคลื่อนที่ทำได้จริง โดยโตโยต้ามุ่งสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนบนพื้นฐานที่ว่าจะสร้าง “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” ควบคู่ไปกับเป้าหมายที่จะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง – Leave No One Behind

การเข้าร่วมรายการแข่งขันที่จะจัดขึ้นในจังหวัดบุรีรัมย์ของทีมแข่ง ROOKIE Racing และโตโยต้าจะแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนและพลังงานเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยั่งยืนจากชีวมวลในภูมิภาคเอเชียนอกจากนี้ยังตอกย้ำความมุ่งมั่นของโตโยต้าที่จะขยายและเร่งพัฒนาทางเลือกของเทคโนโลยีด้านการขับเคลื่อนที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนสู่ทวีปเอเชียผ่านกีฬามอเตอร์สปอร์ตอีกด้วย 

*1 เครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนสร้างพลังงานด้วยกระบวนการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไฮโดรเจน โดยระบบสูบฉีดและจ่ายเชื้อเพลิง ซึ่งดัดแปลงจากเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ที่ใช้ไฮโดรเจนนั้นจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ในระหว่างกระบวนการเผาไหม้ที่ใช้น้ำมันเครื่องจำนวนเล็กน้อยขณะขับขี่ 

การเผาไหม้พลังงานไฮโดรเจนนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้เกิดกระบวนการตอบสนองที่ดีเยี่ยม ซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนยังคงคุณสมบัติด้านความสนุกเร้าใจในขณะขับขี่ผ่านเสียงและการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์  

ลิงก์สาธิตการทำงานแบบย่อ

*2: เชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่เป็นกลางทางคาร์บอนหรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยั่งยืนจากชีวมวล  คือเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปแบบของเหลว สังเคราะห์ขึ้นจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และไฮโดรเจน เชื้อเพลิงดังกล่าวมีคาร์บอนเป็นกลางเนื่องจากจำนวนของ CO2 ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้นั้นมีค่าเทียบเท่ากับจำนวนที่พบในการผลิตเชื้อเพลิง โดย “e-fuels” คือศัพท์ที่ใช้เรียกเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยั่งยืนจากชีวมวล ซึ่งผลิตโดยพลังงานไฮโดรเจนที่มีแหล่งกำเนิดมาจากพลังงานทางเลือก ทั้งเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยั่งยืนจากชีวมวลและเชื้อเพลิงที่มีแหล่งกำเนิดจากพืช ถือว่าเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางคาร์บอน 

*3: รายการ Super Taikyu series คือรายการแข่งขันรถยนต์แบบ Endurance สำหรับรถที่ผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อพ.ศ. 2534 เป็นต้นมา สำหรับในประเทศญี่ปุ่น จะเป็นที่รู้จักในชื่อของ S-Tai รายการแข่งขันนี้ถือเป็นรายการแข่งรถแบบ Endurance แนวหน้าของทวีปเอเชีย ทั้งเป็นที่ชื่นชอบมีผู้ที่ติดตามรายการต่อเนื่องหลายปีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา มีจำนวนนักแข่งจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เข้าร่วมรายการแข่งขันนี้เพิ่มมากขึ้น