มาร์ค มาร์เกซ แชมป์โลก 8 สมัยจาก เรปโซล ฮอนด้า ออกโรงให้สัมภาษณ์ครั้งแรกหลังบาดเจ็บเส้นประสาทตา เจ้าตัวยอมรับ “คุณหมอ” ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน ในการรักษา “อาการมองภาพซ้อน”

มาร์เกซ ต้องถอนตัวจากการแข่งขันหลังเจอปัญหาการมองเห็น จากอุบัติเหตุในการฝึกซ้อมแบบ ออฟโรด ก่อนเข้าสู่การแข่งขัน โปรตุกีส กรังด์ปรีซ์ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

นักบิดวัย 28 ปี พลาดลงแข่งขัน 2 สนาม รวมถึงไม่สามารถลงทดสอบหลังฤดูกาลที่ เฆเรซ หลังได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหา “มองภาพซ้อน-พร่ามัว” ในดวงตาข้างหนึ่งของเขา ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับที่ มาร์เกซ ได้รับบาดเจ็บที่ประสาทตาแบบเดียวกันในปี 2011 จากการชนที่ เซปัง และนั่นเป็นเหตุการณ์รุนแรงครั้งแรกของเขาในอาชีพนักบิด

วันพุธที่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา เรปโซล ฮอนด้า ได้โพสต์อัพเดตอาการของ มาร์เกซ พร้อมกับระบุว่า “มีความคืบหน้าที่น่าพอใจกับจากการวินิจฉัยอาการภาพซ้อน” หลังจากทำการรักษามาราว 2 เดือน”

แม้ “แถลงการณ์” จะไม่ได้ระบุความคืบหน้าที่ชัดเจนของ มาร์เกซ ในการฟื้นตัว แต่ก็เป็นการยืนยันว่า นักบิดสแปนิชกำลังเตรียมการสำหรับช่วง “พรีซีซั่น” เพื่อให้ร่างกายกลับมาพร้อมที่สุด สำหรับฤดูกาล 2022 ซึ่ง โมโตจีพี จะเริ่มต้นการทดสอบอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ เซปังฯ กับการเช็กดาวน์ และออฟฟิเชียลเทสต์ ซึ่ง มาร์ค มาร์เกซ จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเทสต์ครั้งนี้ หากเขาพร้อมในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ปีหน้า”

มาร์เกซ อยู่ในขั้นตอนการฟื้นตัวที่ยอดเยี่ยมจาก “อาการมองภาพซ้อน” โดยต้นสังกัดชี้มีสัญญาณที่ดีมาก ขณะเดียวกันล่าสุดก็ลงซ้อมบนแทร็กควบคู่กับการรักษา เพื่อเตรียมตัวสำหรับฤดูกาล 2022 แล้ว

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง 👇👇👇

ล่าสุด มาร์เกซ ออกมาเปิดเผยครั้งแรกหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา เป็นเวลากว่า 2 เดือนถึงสถานการณ์ของเขาในการแข่งขัน โมโตจีพี 2022 ว่ามีอนาคตที่ไม่แน่นอน และยอบรับว่าช่วง “วินเทอร์” ในปีนี้ “เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก”

“แน่นอนครับการฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บแบบนี้, กับปัญหาด้านการมองเห็น มันคืออะไรที่คุณไม่สามารถกำหนด หรือจะรู้เวลาในการฟื้นตัวเลย” มาร์เกซ กล่าว

“ไม่ว่าจะมองเห็นชัดหรือไม่ชัด ดวงตาเปิดหรือปิด? เราต้องเริ่มจากตรงนั้นก่อน เพราะผมคือคนแรกที่รู้ว่ามีอาการบาดเจ็บ และผมก็ต้องการจะลงแข่งขันในวันพรุ่งนี้เลย”

“แต่จากประสบการณ์ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผมเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มันคือสถานการณ์เดียวกันเป๊ะ ซึ่งคุณจะไม่รู้เลย และก็ไม่สามารถพูดอะไรมากได้”

“และคุณหมอก็ไม่ได้บอกกับผมว่า ‘นายจะหายดีใน 3 เดือน, 6 เดือน หรือแค่ 1 เดือน’ พูดตามตรงว่านี่คือสิ่งที่แม้แต่คุณหมอก็ยังไม่รู้”

“ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องยากมาก แต่มันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อคุณมีอาการบาดเจ็บแบบนี้ ทุกอย่างมักจะต้องถูกจัดการกันบนโต๊ะ”

“ผมกำลังบอกว่า การรักษาอาจรวมถึงการผ่าตัดมันถูกวางอยู่บนโต๊ะ ช่วงเวลาในการฟื้นตัวก็เช่นกัน และความเป็นไปได้ว่าจะได้กลับมาลงแข่งขันหรือขี่รถมอเตอรืไซค์ได้อีกครั้งหรือไม่?”

“ดังนั้น มันจึงเป็นช่วงเวลาที่ยากมาก เพราะคุณไม่รู้อนาคตของตัวเองเลย”

[MotoGP] ชมคลิป มาร์เกซ คัมแบ็กซ้อม โมโตครอสครั้งแรกหลังมองภาพซ้อน

“แต่โดยเฉพาะช่วงเดือนที่ผ่านมาอาการก็ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อผมเริ่มรู้สึกดีขึ้นเมื่อ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็เริ่มปั่นจักรยานนิดๆ หน่อยๆ จากนั้นก็เริ่มขี่จักรยานเสือภูเขา และฟีลลิ่งต่างๆ ก็ดีมาก”

“มันดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสัปดาห์นี้เมื่อผมเข้าพบแพทย์เพื่อเช็กอาการล่าสุด เขาก็ยืนยันว่าฟีลลิ่งที่ดีขึ้นนั้นเป็นสถานการณ์ที่ดี ก่อนจะอนุญาตให้ผมลงขี่มอเตอร์ไซค์ได้”

นอกจากนี้ มาร์เกซ ยังไม่ตัดโอกาสของตัวเองจากการลงทดสอบช่วง พรี-ซีซั่น เทสต์ กับทีมในเดือนกุมภาพันธ์นี้ที่ เซปังฯ โดยกล่าวว่า “ผมต้องการชั่วโมงในการขี่มอเตอร์ไซค์มากกว่านี้ และก็ต้องการลงซ้อมในสนามแข่งด้วย เพื่อที่จะดูว่าฟีลลิ่งเป็นอย่างไร เพราะผมต้องการให้หายดี 100% เมื่อเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นการทดสอบ พรี-ซีซั่น เทสต์ ผมจะพยายามฟื้นตัว เพื่อให้พร้อมที่สุดสำหรับฤดูกาลแข่งขันเริ่มต้นขึ้น”

ขณะเดียวกัน มาร์เกซ ยังเปิดเผยว่าตัวเขาเองไม่น่าจะต้องเข้ารับการผ่า แต่ก็ไม่สามารถพูดได้อย่างแน่ชัดจนกว่าจะได้ลงขี่รถแข่งในเซอร์กิตที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เห็นว่าดวงตาของเขามีปฏิกิริยาอย่างไร

ขณะเดียวกัน มาร์เกซ ยังเปิดเผยว่าตัวเขาเองไม่น่าจะต้องเข้ารับการผ่า แต่ก็ไม่สามารถพูดได้อย่างแน่ชัดจนกว่าจะได้ลงขี่รถแข่งในเซอร์กิตที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เห็นว่าดวงตาของเขามีปฏิกิริยาอย่างไร

“แน่นอนว่า หากผมลงบิดรถมอเตอร์ไซค์ นั่นก็เป็นเพราะผมมีวิสัยทัศน์ในการมองเห็นที่ดี แต่ตอนนี้ ผมก็ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์” มาร์เกซ กล่าว

“เขา (แพทย์) ต้องการเห็นผมลงขี่รถในสนามแข่ง ภายใต้ความเร็วสูงเพียงคนเดียว แค่ 1 วันกับจำนวนหลายๆ รอบ เพื่อดูว่าตอนที่ผมเหนื่อยๆ จะยังคงมีปัญหาหรือไม่?”

“ดังนั้น ผมเองต้องการประเมินตัวเอง และแพทย์เจ้าของไข้ก็ต้องการประเมินตัวผมเช่นกัน เพื่อจะดูทุกๆ อย่าง ก่อนตัดสินใจอนุญาตให้ลงทดสอบที่ มาเลเซีย”